วิธีการดูแลรถที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
ข้อควรระวัง ในการเติมก๊าซ
WEICHAI POWER
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องยนต์ก๊าซ weichai 280 แรงม้า
รายละเอียดสินค้า
ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องยนต์ก๊าซ 280 แรงม้า
Model WT615Z280CNG
Type ชนิด In line, water cool, In line, cool
dry cylinder liner
turbocharged inter cooling, eletric control.
Cylinder No. 6
Bore x Stroke (mm) 126 x 130
Displacement (L) 9.726
Rated Power (Kw/Ps) 206/280
Rated Speed (rpm) 2200
Torque/Speed (Nm/rpm) 1060/1300-1500
Torque Storage (%) เก็บแรงบิด (%) 18
Standard Fuel น้ำมันมาตรฐาน
Fuel Consumption (g/kw.h) <200
Igntion Order Order Igntion 1-5-3-6-2-4
Idle Speed (rpm) Idle Speed (rpm) 700±50
Max. Max Speed (rpm) Speed (rpm) 2400
Oil Consumption (g/kw.h) ≤1
Exhause Temperature (c) <580, <700
1M Noise (db (A)) 1M Noise (db (A)) <105
Life (km) 800,000
Emission Standard Emission Standard Euro III
Net Weight (kg) 750
Overall Size (mm) 1411x1122x692
ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องยนต์ก๊าซ 280 แรงม้า
Model WT615Z280CNG
Type ชนิด In line, water cool, In line, cool
dry cylinder liner
turbocharged inter cooling, eletric control.
Cylinder No. 6
Bore x Stroke (mm) 126 x 130
Displacement (L) 9.726
Rated Power (Kw/Ps) 206/280
Rated Speed (rpm) 2200
Torque/Speed (Nm/rpm) 1060/1300-1500
Torque Storage (%) เก็บแรงบิด (%) 18
Standard Fuel น้ำมันมาตรฐาน
Fuel Consumption (g/kw.h) <200
Igntion Order Order Igntion 1-5-3-6-2-4
Idle Speed (rpm) Idle Speed (rpm) 700±50
Max. Max Speed (rpm) Speed (rpm) 2400
Oil Consumption (g/kw.h) ≤1
Exhause Temperature (c) <580, <700
1M Noise (db (A)) 1M Noise (db (A)) <105
Life (km) 800,000
Emission Standard Emission Standard Euro III
Net Weight (kg) 750
Overall Size (mm) 1411x1122x692
NGV ช่วยชาติประหยัดน้ำมัน
NGV กับความคุ้มค่า
NGV ช่วยชาติประหยัดน้ำมัน
การ ที่เราคนไทยหันมาใช้ NGV ทำให้รัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมาก ปัจจุบันมีรถใช้ NGV ประมาณ 13,000 คัน และรัฐมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ NGV กว้างขวางมากขึ้น โดยตั้งเป้าว่าในปี 2553 จะมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 500,000 คัน ซึ่งจะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เองในประเทศเพิ่มมากขึ้น สามารถทดแทนการใช้น้ำมันได้ถึง 5,500 ลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 84,000 ล้านบาทเชียวนะครับ
NGV กับระยะเวลาคืนทุน
การ ติดตั้ง NGV มี 2 ระบบ คือ ระบบฉีดก๊าซและระบบดูดก๊าซ ราคาค่าติดตั้งก็แตกต่างกันไป การคืนทุนเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับระยะทางการวิ่งของรถในแต่ละวัน ดังตารางต่อไปนี้
การหันมาใช้ NGV คุ้มค่าแน่นอนครับ ประหยัดเงินในกระเป๋า ลดอัตราการน้ำเข้าน้ำมันของชาติได้มากมาย แถมยังเป็นพลังงานสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับ หันมาใช้ NGV กันเยอะๆนะครับ
NGV ช่วยชาติประหยัดน้ำมัน
การ ที่เราคนไทยหันมาใช้ NGV ทำให้รัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมาก ปัจจุบันมีรถใช้ NGV ประมาณ 13,000 คัน และรัฐมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ NGV กว้างขวางมากขึ้น โดยตั้งเป้าว่าในปี 2553 จะมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ 500,000 คัน ซึ่งจะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เองในประเทศเพิ่มมากขึ้น สามารถทดแทนการใช้น้ำมันได้ถึง 5,500 ลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 84,000 ล้านบาทเชียวนะครับ
NGV กับระยะเวลาคืนทุน
การ ติดตั้ง NGV มี 2 ระบบ คือ ระบบฉีดก๊าซและระบบดูดก๊าซ ราคาค่าติดตั้งก็แตกต่างกันไป การคืนทุนเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับระยะทางการวิ่งของรถในแต่ละวัน ดังตารางต่อไปนี้
การหันมาใช้ NGV คุ้มค่าแน่นอนครับ ประหยัดเงินในกระเป๋า ลดอัตราการน้ำเข้าน้ำมันของชาติได้มากมาย แถมยังเป็นพลังงานสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับ หันมาใช้ NGV กันเยอะๆนะครับ
ถังก๊าซ NGV
ถังก๊าซ NGV
ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ปัจจุบัน มีการผลิตถังก๊าซอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม
ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุ ใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)
ชนิด แรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุดครับ ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้
สำหรับ ถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม
หลาย ท่านอาจมีคำถามค้างคาจิตใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือ เปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง ขนาดใช้ปืนกล M.60 ซึ่งบรรจุกระสุนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ยิงถังที่มีก๊าซ NGV บรรจุอยู่เต็มถัง ปรากฎว่าถังทะลุ ก๊าซพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็ว แสดงว่าถ้ารถของเรามีอุบัติเหตุทำให้ถังถูกเจาะจนทะลุ ก็จะไม่เกิดการระเบิดขึ้นครับ
และ เรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติครับ ต่อให้มีไฟมาเผาถังก๊าซก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาว์ลหัวถังก็ระบายก๊าซออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ
นั่น แสดงให้เห็นว่า หากเกิดอุบัติเหตุไฟใหม้รถยนต์ จนถังก๊าซมีอุณหภูมิหรือความดันเกินกำหนด วาว์ลนิรภัยที่หัวถังจะทำงานด้วยการระบายก๊าซออกจากถังทันทีเพื่อไม่ให้เกิด การระเบิดขึ้นครับ ทราบกันอย่างนี้แล้วก็คงหายห่วงแล้วใช่ไหมครับ รีบไปติดตั้งอุปกรณ์ NGV กันเลยนะครับ สนพ.รับรองว่าคุ้มแน่นอน
ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ปัจจุบัน มีการผลิตถังก๊าซอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม
ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุ ใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)
ชนิด แรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุดครับ ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้
สำหรับ ถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม
หลาย ท่านอาจมีคำถามค้างคาจิตใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือ เปล่า ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง ขนาดใช้ปืนกล M.60 ซึ่งบรรจุกระสุนขนาด 7.62 มิลลิเมตร ยิงถังที่มีก๊าซ NGV บรรจุอยู่เต็มถัง ปรากฎว่าถังทะลุ ก๊าซพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็ว แสดงว่าถ้ารถของเรามีอุบัติเหตุทำให้ถังถูกเจาะจนทะลุ ก็จะไม่เกิดการระเบิดขึ้นครับ
และ เรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติครับ ต่อให้มีไฟมาเผาถังก๊าซก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาว์ลหัวถังก็ระบายก๊าซออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ
นั่น แสดงให้เห็นว่า หากเกิดอุบัติเหตุไฟใหม้รถยนต์ จนถังก๊าซมีอุณหภูมิหรือความดันเกินกำหนด วาว์ลนิรภัยที่หัวถังจะทำงานด้วยการระบายก๊าซออกจากถังทันทีเพื่อไม่ให้เกิด การระเบิดขึ้นครับ ทราบกันอย่างนี้แล้วก็คงหายห่วงแล้วใช่ไหมครับ รีบไปติดตั้งอุปกรณ์ NGV กันเลยนะครับ สนพ.รับรองว่าคุ้มแน่นอน
รถยนต์ที่ใช้ NGV ได้
รถยนต์ที่ใช้ NGV ได้
รถยนต์ทุกยี่ห้อ ทุกประเภท สามารถติดตั้ง NGV ได้ครับ ทั้งระบบที่ใช้น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล แต่จะติดตั้งอุปกรณ์ NGV ระบบหัวฉีด หรือ ระบบดูด ก๊าซ สามารถสังเกตได้จากท่อร่วมไอดี ถ้าท่อไอดีเป็นพลาสติกซึ่งส่วนมากเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ จะต้องติดตั้งระบบหัวฉีด แต่ถ้าท่อร่วมไอดีในรถของคุณเป็นโลหะซึ่งส่วนมากจะอยู่ในรถยนต์รุ่นเก่า แนะนำให้ติดตั้งเป็นระบบดูดก๊าซครับ จะเลือกติดตั้งระบบไหนต้องพิจารณาให้ดีนะครับ หากเรานำรถยนต์ที่มีท่อร่วมไอดีพลาสติกมาติดตั้งระบบดูดก๊าซ อาจทำให้เครื่องขัดข้องได้ ถ้าไม่แน่ใจว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่จะติดตั้งระบบไหนดีก็สอบถามได้ตามเบอร์ ติดต่อของปุ่มติดต่อสอบถามครับ เรารวบรวมสถานที่ติดต่อที่รับผิดชอบเรื่องนี้ไว้ให้คุณอย่างครบถ้วน
เมื่อ ท่านต้องการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ NGV ในรถยนต์ให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถเลือกระบบ และตรวจสอบว่าระบบใดสามารถติดตั้งกับรถของตนได้อย่างเหมาะสมก่อนการตัดสินใจ และต้องนำรถไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV กับร้านค้าหรืออู่ติดตั้งที่มีมาตรฐานพร้อมขอใบเสร็จรับเงินและเอกสารรับรอง มาตรฐานถังและอุปกรณ์จากร้านค้าหรืออู่ที่ทำการติดตั้ง
ขั้นตอนการ ดำเนินการเมื่อต้องการใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
ศึกษาข้อมูลการใช้ NGV กับรถยนต์ ให้ถ่องแท้
นำ รถไปติดตั้งระบบกับผู้ที่ติดตั้งได้มาตรฐาน
นำ รถไปตรวจรับรองกับผู้ตรวจและทดสอบ
ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ดำเนินการทางทะเบียนโดยนำรถไป แจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงภายใน 15 วัน
ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก หลังจากผ่านการตรวจและทดสอบแล้ว
รถยนต์ทุกยี่ห้อ ทุกประเภท สามารถติดตั้ง NGV ได้ครับ ทั้งระบบที่ใช้น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล แต่จะติดตั้งอุปกรณ์ NGV ระบบหัวฉีด หรือ ระบบดูด ก๊าซ สามารถสังเกตได้จากท่อร่วมไอดี ถ้าท่อไอดีเป็นพลาสติกซึ่งส่วนมากเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ จะต้องติดตั้งระบบหัวฉีด แต่ถ้าท่อร่วมไอดีในรถของคุณเป็นโลหะซึ่งส่วนมากจะอยู่ในรถยนต์รุ่นเก่า แนะนำให้ติดตั้งเป็นระบบดูดก๊าซครับ จะเลือกติดตั้งระบบไหนต้องพิจารณาให้ดีนะครับ หากเรานำรถยนต์ที่มีท่อร่วมไอดีพลาสติกมาติดตั้งระบบดูดก๊าซ อาจทำให้เครื่องขัดข้องได้ ถ้าไม่แน่ใจว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่จะติดตั้งระบบไหนดีก็สอบถามได้ตามเบอร์ ติดต่อของปุ่มติดต่อสอบถามครับ เรารวบรวมสถานที่ติดต่อที่รับผิดชอบเรื่องนี้ไว้ให้คุณอย่างครบถ้วน
เมื่อ ท่านต้องการติดตั้งอุปกรณ์ NGV ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ NGV ในรถยนต์ให้เข้าใจ เพื่อให้สามารถเลือกระบบ และตรวจสอบว่าระบบใดสามารถติดตั้งกับรถของตนได้อย่างเหมาะสมก่อนการตัดสินใจ และต้องนำรถไปติดตั้งระบบก๊าซ NGV กับร้านค้าหรืออู่ติดตั้งที่มีมาตรฐานพร้อมขอใบเสร็จรับเงินและเอกสารรับรอง มาตรฐานถังและอุปกรณ์จากร้านค้าหรืออู่ที่ทำการติดตั้ง
ขั้นตอนการ ดำเนินการเมื่อต้องการใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
ศึกษาข้อมูลการใช้ NGV กับรถยนต์ ให้ถ่องแท้
นำ รถไปติดตั้งระบบกับผู้ที่ติดตั้งได้มาตรฐาน
นำ รถไปตรวจรับรองกับผู้ตรวจและทดสอบ
ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
ดำเนินการทางทะเบียนโดยนำรถไป แจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงภายใน 15 วัน
ณ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก หลังจากผ่านการตรวจและทดสอบแล้ว
NGVคืออะไร
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Natural Gas for Vehicles หรือเรียกย่อๆ ว่า NGV โดยอาจจะรู้จักกันในชื่อของ ก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas : CNG) นับเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ในยานยนต์ ซึ่งก็เหมือนกับก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ตามบ้าน เพื่อการประกอบอาหาร การทำความร้อน และการทำน้ำร้อน เป็นต้น
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยาน ยนต์ หรือ NGV ได้มีการนำมาใช้กับยานยนต์ในหลายๆ ประเทศ เกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก แต่อัตราการเพิ่มยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ เนื่องจากยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมา นานกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงหนึ่ง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน ประกอบกับก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ที่สะอาด จึงได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นับจากปี 2527 ที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มศึกษาและทดลองนำ NGV มาใช้ในรถยนต์ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ และปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศต่ำสุด เมื่อเทียบกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอื่น
ต่อมาในปี 2536 ได้ร่วมกับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขยายการใช้ NGV ไปสู่รถโดยสารปรับอากาศที่เป็นรถขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ส่งผลให้ NGV เริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนมากขึ้น
และภายหลังจากที่ ปตท. ได้จัดตั้งโครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้มีการใช้ NGV เมื่อปี 2543 ส่งผลให้ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV มากขึ้น โดยมีแนวโน้มตัวเลขที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสมและสามารถใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภท
ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริงแล้ว น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากพืชและซากสัตว์หรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือ ถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า
1. องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างเป็นประกอบด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน (CH2) , อีเทน (C2H6) , โพรเพน (C3H8) , บิวเทน (C4H10) , ไนโตรเจน (N2) , คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอน เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) , ไนโตรเจน (N2) และน้ำ (H2O) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย
2. ข้อดีของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
2.1 คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ
* เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
* เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
* ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผล มาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ก๊าซรั่ว)
* เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
* ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 650 องศาเซลเซียส
2.2 คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
* เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
* ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
* มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
* มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
* สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
* ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก
3. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
สามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
3.1 ใช้เป็นเชื้อเพลิง
เราสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงก็สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ ยนต์ได้ (NGV)
3.2 นำไปผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ
เพราะในตัวเนื้อก๊าซธรรมชาติ มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อยู่มากมาย เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
* ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
* ก๊าซอีเทน (C2) และก๊าซโพรเพน (C3) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
* ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : นำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย
* ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
ภาพแสดงกระบวนการแยกก๊าซ
* ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (Natural Gasoline) : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวเหล่านี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (Natural Gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลายซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน
* ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือ การถ่ายทำภาพยนตร์
4. คุณสมบัติของ ก๊าซธรรมชาติเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ตารางที่ 1.1 คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ข้อเปรียบเทียบ ก๊าซ NGV ก๊าซ LPG น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
สถานะ เป็นก๊าซ เป็นก๊าซ และเก็บในรูปของเหลว ที่ความดัน 7 บาร์ เป็นของเหลว เป็นของเหลว
น้ำหนัก เบากว่าอากาศ ไม่มีการสะสม เมื่อเกิดการรั่วไหล หนักกว่า อากาศจึงเกิดการสะสม ซึ่งเป็นอันตราย หนักกว่า อากาศ หนักกว่า อากาศ
ขีดจำกัดการติดไฟ **
(Flammability limit, %โดยปริมาตร) 5 – 15 % 2.0 - 9.5 % 1.4 – 7.6 % 0.6 – 7.5 %
อุณหภูมิติดไฟ
(Ignition Temperature) 650 °C 481 °C 275 °C 250 °C
** ขีดจำกัดการติดไฟ (Flammability limit) เป็นขอบเขตการเผาไหม้ที่ต้องมีสัดส่วนของ ไอเชื้อเพลิงในอากาศที่จะลุกไหม้ได้เมื่อมีประกายไฟ หรือมีความร้อนสูงถึงอุณหภูมิติดไฟ
จากคุณสมบัติข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า NGV เป็นก๊าซที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ขอขอบคุณข้อมูล
ที่มา;บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยาน ยนต์ หรือ NGV ได้มีการนำมาใช้กับยานยนต์ในหลายๆ ประเทศ เกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก แต่อัตราการเพิ่มยังไม่มากนัก เมื่อเทียบกับยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ เนื่องจากยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมา นานกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกเชื้อเพลิงหนึ่ง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน ประกอบกับก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ที่สะอาด จึงได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพื่อลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นับจากปี 2527 ที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เริ่มศึกษาและทดลองนำ NGV มาใช้ในรถยนต์ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ และปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศต่ำสุด เมื่อเทียบกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงอื่น
ต่อมาในปี 2536 ได้ร่วมกับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ขยายการใช้ NGV ไปสู่รถโดยสารปรับอากาศที่เป็นรถขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ส่งผลให้ NGV เริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนมากขึ้น
และภายหลังจากที่ ปตท. ได้จัดตั้งโครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้มีการใช้ NGV เมื่อปี 2543 ส่งผลให้ประเทศไทยมีรถยนต์ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ NGV มากขึ้น โดยมีแนวโน้มตัวเลขที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสมและสามารถใช้ได้กับรถยนต์ทุกประเภท
ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน ที่จริงแล้ว น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ก็คือซากพืชและซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานหลายแสนหลายล้านปี และทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จนซากพืชและซากสัตว์หรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินที่เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด
ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่า ต้นพืชและสัตว์ รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติหรือ ถ่านหิน พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อนำไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้มาเผา จะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน ให้ความร้อนมากกว่า
1. องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างเป็นประกอบด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน (CH2) , อีเทน (C2H6) , โพรเพน (C3H8) , บิวเทน (C4H10) , ไนโตรเจน (N2) , คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอน เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) , ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) , ไนโตรเจน (N2) และน้ำ (H2O) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย
2. ข้อดีของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
2.1 คุณสมบัติทั่วไปของก๊าซธรรมชาติ
* เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตนับล้านปี
* เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก
* ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปราศจากพิษ (ส่วนมากกลิ่นที่เราคุ้นเคยจากก๊าซธรรมชาติเป็นผล มาจากการเติมสารเคมีบางประเภทลงไป เพื่อให้ผู้ใช้รู้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ก๊าซรั่ว)
* เบากว่าอากาศ (ความถ่วงจำเพาะ 0.5-0.8 เท่าของอากาศ)
* ติดไฟได้ โดยมีช่วงของการติดไฟที่ 5-15% ของปริมาตรในอากาศ และอุณหภูมิที่สามารถติดไฟได้เองคือ 650 องศาเซลเซียส
2.2 คุณประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
* เป็นเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่นำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีการเผาไหม้สมบูรณ์
* ลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
* มีความปลอดภัยสูงในการใช้งาน เนื่องจากเบากว่าอากาศ จึงลอยขึ้นเมื่อเกิดการรั่ว
* มีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่นๆ เช่น น้ำมัน น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
* สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
* ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยผลิตได้เองจากแหล่งในประเทศ จึงช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ และประหยัดเงินตราต่างประเทศได้มาก
3. ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติ
สามารถใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
3.1 ใช้เป็นเชื้อเพลิง
เราสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงก็สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถ ยนต์ได้ (NGV)
3.2 นำไปผ่านกระบวนการแยกในโรงแยกก๊าซ
เพราะในตัวเนื้อก๊าซธรรมชาติ มีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อยู่มากมาย เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
* ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
* ก๊าซอีเทน (C2) และก๊าซโพรเพน (C3) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
* ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : นำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย
* ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
ภาพแสดงกระบวนการแยกก๊าซ
* ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (Natural Gasoline) : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวเหล่านี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (Natural Gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลายซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน
* ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือ การถ่ายทำภาพยนตร์
4. คุณสมบัติของ ก๊าซธรรมชาติเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ตารางที่ 1.1 คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ข้อเปรียบเทียบ ก๊าซ NGV ก๊าซ LPG น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
สถานะ เป็นก๊าซ เป็นก๊าซ และเก็บในรูปของเหลว ที่ความดัน 7 บาร์ เป็นของเหลว เป็นของเหลว
น้ำหนัก เบากว่าอากาศ ไม่มีการสะสม เมื่อเกิดการรั่วไหล หนักกว่า อากาศจึงเกิดการสะสม ซึ่งเป็นอันตราย หนักกว่า อากาศ หนักกว่า อากาศ
ขีดจำกัดการติดไฟ **
(Flammability limit, %โดยปริมาตร) 5 – 15 % 2.0 - 9.5 % 1.4 – 7.6 % 0.6 – 7.5 %
อุณหภูมิติดไฟ
(Ignition Temperature) 650 °C 481 °C 275 °C 250 °C
** ขีดจำกัดการติดไฟ (Flammability limit) เป็นขอบเขตการเผาไหม้ที่ต้องมีสัดส่วนของ ไอเชื้อเพลิงในอากาศที่จะลุกไหม้ได้เมื่อมีประกายไฟ หรือมีความร้อนสูงถึงอุณหภูมิติดไฟ
จากคุณสมบัติข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า NGV เป็นก๊าซที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
ขอขอบคุณข้อมูล
ที่มา;บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)